FBS ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16

ปลดล็อกของรางวัลวันเกิด: ตั้งแต่แก็ดเจ็ตและรถในฝันไปจนถึงทริป VIPเรียนรู้เพิ่มเติม
เปิดบัญชี
เปิดบัญชีล็อกอิน
เปิดบัญชี

21 ก.ค. 2025

กลยุทธ์

ความเชื่อมั่นของตลาดคืออะไร และตัวบ่งชี้ของมันมีอะไรบ้าง?

ความเชื่อมั่นของตลาดในตลาดฟอเร็กซ์คืออะไร?

ความเชื่อมั่นของตลาดคือทัศนคติของนักลงทุนที่มีต่อสภาพตลาด บริษัท หรือภาคเศรษฐกิจ โดยความเชื่อมั่นนี้จะถูกกำหนดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ ข่าวล่าสุด หรือรายงานผลประกอบการ การทำความเข้าใจความเชื่อมั่นของตลาดจะช่วยให้นักลงทุนสามารถระบุแนวโน้มของตลาดและเข้าร่วมได้ก่อนที่จะสายเกินไป โดยความเชื่อมั่นของตลาดอาจเป็นขาขึ้นหรือขาลงก็ได้ ซึ่งหมายถึงนักลงทุนอาจเชื่อว่าราคาจะเพิ่มขึ้น หรือคาดว่าราคาจะลดลง

หากคุณวางแผนจะลงทุนระยะสั้น การให้ความสำคัญกับความเชื่อมั่นของตลาดอาจเป็นสิ่งสำคัญ คุณจะไม่ตกใจจากการเปลี่ยนแปลงของทิศทางราคาที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และจะสามารถตัดสินใจเทรดได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น

ตัวบ่งชี้ความเชื่อมั่นของตลาด

ตัวบ่งชี้ความเชื่อมั่นของตลาด

นักลงทุนจะใช้หลายตัวบ่งชี้เพื่อประเมินความเชื่อมั่นของตลาด ซึ่งช่วยให้พวกเขากำหนดได้ว่าหุ้นตัวไหนน่าเทรดที่สุด

  • ดัชนี Bullish Percentage Index (BPI) แสดงให้เห็นว่าตลาดมองในแง่บวกมากเพียงใด ค่า BPI ที่สูง (เกิน 70%) จะแสดงถึงความเชื่อมั่นในขาขึ้นและอาจบ่งชี้ว่าหุ้นมีมูลค่าสูงเกินไปและตลาดก็พร้อมสำหรับการปรับตัวลง ในทางกลับกัน ค่า BPI ที่ต่ำ (ต่ำกว่า 30%) จะแสดงถึงความเชื่อมั่นในขาลง ซึ่งหมายความว่าตลาดถูกขายมากเกินไปและมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น

  • ดัชนี Market Volatility Index (VIX) เป็นดัชนีที่สะท้อนความกังวลของนักลงทุน โดย VIX จะวัดความคาดหวังของตลาดที่มีต่อความผันผวนในอนาคต โดยอ้างอิงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาออปชัน นักลงทุนจะใช้ราคาออปชันเป็นวิธีป้องกันตัวเองจากการปรับฐานของราคาที่อาจเกิดขึ้น ค่า VIX ที่สูงจะหมายถึงนักลงทุนในตลาดมีความกังวล ส่วนค่า VIX ที่ต่ำจะแสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของตลาดมีความมั่นคงและแนวโน้มปัจจุบันก็มีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไป

  • ดัชนี High-Low เป็นการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนหุ้นที่ทำราคาสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ กับจำนวนหุ้นที่ทำราคาต่ำสุดในระยะเวลาเดียวกัน ค่าดัชนีที่ต่ำกว่า 30 จะบ่งชี้ถึงตลาดขาลง ส่วนค่าดัชนีที่สูงกว่า 70 จะแสดงถึงตลาดขาขึ้น

  • Moving Averages (MA) จะช่วยระบุว่าตลาดมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นหรือต่ำลง โดยเปอร์เซ็นต์ของหุ้นที่อยู่เหนือหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หลัก ๆ (เช่น 50-, 100- และ 200-วัน) จะส่งสัญญานว่าตลาดพร้อมสำหรับการเติบโตหรือไม่ โดยทั่วไปจะใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วันและ 200 วัน เพื่อกำหนดทิศทางตลาด หากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วัน ตัดขึ้นผ่านค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน จากด้านล่าง นั่นแสดงว่าตลาดอยู่ในภาวะขาขึ้น แต่ถ้าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วัน ตัดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน นั่นแสดงว่าตลาดอยู่ในภาวะขาลง

  • อัตราส่วน Put/Call จะช่วยให้เทรดเดอร์เข้าใจว่าตลาดกำลังเป็นขาขึ้นหรือขาลง ออปชัน Put จะให้สิทธิ์ผู้ลงทุนขายสินทรัพย์ในราคาที่กำหนด ส่วนออปชัน Call จะให้สิทธิ์เข้าซื้อสินทรัพย์ในราคาที่กำหนดภายในระยะเวลาที่เจาะจง หากมีคนซื้อ Call มากกว่า อัตราส่วนจะต่ำกว่า 1 ซึ่งจะหมายถึงตลาดขาขึ้นและนักลงทุนก็คาดว่าราคาจะพุ่งขึ้น ในทางกลับกัน ถ้ามีการซื้อ Put มากกว่า นั่นจะแสดงถึงตลาดขาลง

  • Advance-Decline Line (ADL) จะวัดจากความแตกต่างระหว่างจำนวนหุ้นขึ้นและหุ้นลง โดยตัวบ่งชี้นี้จะแสดงให้เห็นว่ามีหุ้นถูกซื้อหรือขายมากน้อยเพียงใด ตัวบ่งชี้นี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าความเชื่อมั่นของตลาดเป็นขาลงหรือขาขึ้น

  • Trading Volume เป็นอีกหนึ่งตัวบ่งชี้ที่คุณสามารถใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ โดยมันแสดงจำนวนหุ้นทั้งหมดที่ถูกซื้อขายในช่วงเวลาหนึ่ง ยิ่งปริมาณการซื้อขายสูงเท่าไร เทรดเดอร์ก็ยิ่งมีความสนใจในตลาดมากขึ้นเท่านั้น

  • Commitment of Traders (COT) เป็นรายงานประจำสัปดาห์ที่แสดงการถือครองโดยรวมของผู้เล่นต่าง ๆ ในตลาดฟิวเจอร์สสหรัฐฯ ตัวบ่งชี้นี้จะให้ภาพที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับพลวัตของตลาด รายงาน COT จะถูกเผยแพร่ทุกวันศุกร์ โดยจะแสดงสถานะการลงทุนของนักลงทุนรายใหญ่ เช่น บริษัทต่าง ๆ ตามที่ Larry Williams ผู้สร้างดัชนี COT ได้กล่าวไว้ หากค่าดัชนี COT อยู่ที่ 75% หรือ 25% นี่จะเป็นสัญญาณซื้อ/ขาย ขึ้นอยู่กับว่าดัชนีนี้ถูกคำนวณสำหรับผู้เล่นตลาดกลุ่มใด ขณะที่เทรดเดอร์รายอื่น ๆ มองว่าค่าวิกฤตคือ 10% และ 90% คุณอาจลองขายหรือซื้อหุ้นประมาณ 20% และ 80% แล้วดูว่าตัวเลือกใดที่ดีกว่า

ทำความเข้าใจในความเชื่อมั่นของตลาด

การทำความเข้าใจความรู้สึกของตลาดจะช่วยให้นักลงทุนสามารถกำหนดกลยุทธ์ในการซื้อหรือขายหุ้นได้ โดยเฉพาะสำหรับการลงทุนระยะสั้น ตัวอย่างเช่น ในตลาดขาขึ้นที่ราคากำลังเพิ่มขึ้น นักลงทุนหลายคนมักเลือกขายหุ้นเพื่อทำกำไรให้มากขึ้น

ตลาดหุ้นถูกขับเคลื่อนโดยอารมณ์ของผู้เล่นในตลาด ในขณะที่มูลค่าพื้นฐานจะสะท้อนผลประกอบการจริงของธุรกิจ โดยปกติแล้วความเชื่อมั่นของตลาดจะสะท้อนถึงปฏิกิริยาของนักลงทุนที่มีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นตัวบ่งชี้นี้อาจออกมาช้าเกินไปจนไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน หรืออาจไม่สะท้อนสถานการณ์จริง ดังนั้นควรใช้ตัวบ่งชี้ความเชื่อมั่นของตลาดอย่างระมัดระวัง เพราะมันอาจรบกวนการลงทุนระยะยาวได้

นอกจากนี้ คุณควรจำไว้ว่าสื่ออาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดได้เป็นอย่างมาก การรายงานในแง่ดีมากเกินไปอาจให้เกิดภาวะฟองสบู่ ขณะที่ข่าวในเชิงลบอาจนำไปสู่การขายแบบตื่นตระหนก ตัวอย่างเช่น สื่ออาจเพิ่มความกังวลของนักลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่พิสูจน์ว่าความเชื่อมั่นในสื่อสามารถระบุสัญญาณเตือนล่วงหน้าของวิกฤตเศรษฐกิจได้

คุณไม่ควรพึ่งพาเพียงความเชื่อมั่นของตลาดเพียงอย่างเดียว — ยังมีตัวบ่งชี้อื่น ๆ สำหรับการวิเคราะห์ตลาด ตัวอย่างเช่น หากตัวบ่งชี้แสดงถึงความเชื่อมั่นในขาลง แต่การวิเคราะห์ทางเทคนิคแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนธุรกิจ นักลงทุนก็อาจตัดสินใจเข้าซื้อหุ้น มิฉะนั้น คความเชื่อมั่นในขาขึ้นที่รวมกับสัญญาณของการประเมินมูลค่าเกินจริงจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอาจต้องใช้แนวทางที่รอบคอบมากขึ้น 

ตัวอย่าง

การแกว่งตัวของตลาดหุ้นระหว่างความเชื่อมั่นในขาขึ้นและขาลงมักถูกขับเคลื่อนโดยความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและนโยบาย ตัวอย่างเช่น ในช่วงต้นปี 2020 ความเชื่อมั่นของตลาดส่วนใหญ่เป็นขาลง นักลงทุนคาดว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ หุ้นถูกขายจำนวนมากและราคาก็ลดลง อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐบาลได้ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและนักวิทยาศาสตร์ได้ทดสอบวัคซีน นักลงทุนกลับมองโลกในแง่ดีมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ตลาดฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง

บางครั้งโซเชียลมีเดียก็สามารถส่งผลต่อความเชื่อมั่นของตลาดได้ แค่ดูตัวอย่างของบริษัท Tesla และอีลอน มัสก์ ที่เป็น CEO ของบริษัท หุ้น Tesla ได้ร่วงลงและความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้เปลี่ยนจากมองบวกเป็นมองลบ เพียงเพราะโพสต์อันคลุมเครือของเขาในโซเชียลมีเดีย ในขณะที่สถานการณ์จริงของบริษัทยังคงมั่นคงและไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะทำให้หุ้นร่วงหนักได้ขนาดนั้น

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ:

เปิดบัญชี FBS

โดยการลงทะเบียน คุณได้ยอมรับเงื่อนไขของ ข้อตกลงลูกค้า FBS และ นโยบายความเป็นส่วนตัว FBS และยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายในตลาดการเงินระดับโลก

FBS ณ สื่อสังคมออนไลน์

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon

ติดต่อเรา

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
Google Play

การซื้อขาย

บริษัท

เกี่ยวกับ FBS

ผลกระทบต่อสังคมของเรา

เอกสารทางกฎหมาย

ข่าวเกี่ยวกับบริษัท

สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้

ศูนย์ช่วยเหลือ

โปรแกรมพันธมิตร

เว็บไซต์นี้ดำเนินการโดย FBS Markets Inc. หมายเลขจดทะเบียน 000001317 ซึ่ง FBS Markets Inc. ได้รับการจดทะเบียนโดย Financial Services Commission ภายใต้พระราชบัญญัติอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ฯ 2021 (Securities Industry Act 2021) ใบอนุญาตเลขที่ 000102/31 ที่อยู่สำนักงาน: 9725, Fabers Road Extension, Unit 1, Belize City, Belize

โดย FBS Markets Inc. ไม่ได้ให้บริการทางการเงินแก่ผู้อยู่อาศัยในเขตอำนาจศาลบางแห่ง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง: สหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป, สหราชอาณาจักร, อิสราเอล, สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน, เมียนมาร์

ธุรกรรมการชำระเงินได้รับการจัดการโดย HDC Technologies Ltd.; Registration No. HE 370778; Legal address: Arch. Makariou III & Vyronos, P. Lordos Center, Block B, Office 203, Limassol, Cyprus ที่อยู่เพิ่มเติม: Office 267, Irene Court, Corner Rigenas and 28th October street, Agia Triada, 3035, Limassol, Cyprus

เบอร์ติดต่อ: +357 22 010970 เบอร์ติดต่อเพิ่มเติม: +501 611 0594

สำหรับความร่วมมือ กรุณาติดต่อเราผ่าน [email protected]

คำเตือนเรื่องความเสี่ยง: ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการซื้อขาย คุณควรเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตลาดสกุลเงินและการซื้อขายโดยใช้มาร์จิ้นอย่างถ่องแท้ และคุณควรตระหนักถึงระดับประสบการณ์ของตนเอง

การคัดลอก การทำสำเนา การเผยแพร่ รวมถึงแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตของเนื้อหาใดๆ จากเว็บไซต์นี้สามารถดำเนินการได้เฉพาะเมื่อได้รับการอนุญาตที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน การชี้แนะ หรือการชักชวนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการลงทุนใด ๆ ทั้งสิ้น